“ในขณะที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำลายอัลกอริทึมการเข้ารหัสคีย์สาธารณะได้ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องเตรียมรับมือสำหรับภัยคุกคามในอนาคตของควอนตัมคอมพิวเตอร์”
คำเตือนจาก Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) หรือ หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์ของสหรัฐ
เป็นที่แน่นอนว่าการมาถึงของเทคโนโลยีควอนตัมนั้นจะส่งผลเป็นวงกว้างทั้งด้านการสื่อสารดิจิทัล อีเมล บริการส่งข้อความ ธนาคารออนไลน์ และสกุลดิจิตอลอย่าง Bitcoin ที่ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการเข้ารหัสแบบร่วมสมัยอาจจะโดนแฮกหรือขโมยข้อมูลได้ง่ายขึ้น
ในปี 2020 หลังจากที่บริษัท Honeywell เปิดเผยว่าได้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ใช้ประโยชน์จาก qubits ที่มีประสิทธิภาพ 6 ตัว ทำให้ผู้คนได้เริ่มพูดคุยกันมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของคอมพิวเตอร์ควอนตัมต่อ Bitcoin และการเข้ารหัสแบบ 256 บิต (มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลในปัจจุบัน) CISA ยังเสริมอีกว่า “ถ้าควอนตัมคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและความเร็วในการประมวลผลในที่สูงขึ้นจะสามารถทำลายอัลกอริทึมการเข้ารหัสคีย์สาธารณะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้” ในอีกด้านหนึ่งนักวิจัยบางส่วนก็เชื่ออย่างสุดใจว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิสูงพอที่จะทำลายอัลกอริทึมการเข้ารหัสยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ และอาจใช้เวลาราว ๆ 5-15 ปีนับจากนี้
ถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์จะทำลายอัลกอริทึมการเข้ารหัสคีย์สาธารณะได้ แต่ผู้ที่เชื่อและสนับสนุน Bitcoin ได้กล่าวหลายครั้งว่าการเข้ารหัส SHA-256 ที่สร้างโดย Satoshi จะเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขามต่อโลกหลังควอนตัม เนื่องจากใน Bitcoin การเข้ารหัสคีย์สาธารณะของคุณไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ (ในตอนแรก) ขณะที่คุณให้ที่อยู่ bitcoin ของคุณกับผู้อื่นเพื่อให้พวกเขาสามารถโอนย้าย bitcoins ให้คุณได้ ที่อยู่ bitcoin ของคุณเป็นเพียงแฮชของกุญแจสาธารณะของคุณ ไม่ใช่กุญแจสาธารณะ Andreas Antonopoulos ผู้สนับสนุน bitcoin กล่าวว่า “การใช้ที่อยู่ bitcoin ที่แตกต่างกันทุกครั้งเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความปลอดภัย bitcoin และการออกแบบการเข้ารหัสสองแบบของ Satoshi คืออัจฉริยะอย่างแท้จริง”
ฟังก์ชันแฮช (Hash Function) คืออะไร?
ฟังก์ชันแฮชเป็นฟังก์ชันเข้ารหัสทางเดียวที่รับ Input แล้วเปลี่ยนเป็น Output เข้ารหัสทางเดียว หมายความว่าคุณไม่สามารถรับ Input จาก Output ได้ และหากข้อมูลผ่านฟังก์ชันแฮชแล้วจะไม่สามารถถอดรหัส หรือกระทำการใด ๆ เพื่อที่จะ Reverse ให้ออกมาเป็นข้อความต้นฉบับ เหมือนกับการเข้ารหัสบางอย่างแล้วทำกุญแจหรือรหัสนั้นหาย ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลต้นฉบับเป็นไปได้ยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย
ดูเหมือนว่าการเข้ารหัสแบบเดิม ๆ ในปัจจุบัน จะไม่ปลอดภัยเหมือนดั่งก่อนถ้ายุคของเทคโนโลยีควอนตัมได้เริ่มต้นขึ้น แต่เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ใช่อะไรที่จะเข้าถึงได้ง่ายในช่วงแรก ๆ และสามารถทำได้ทุกคน ทางด้านของผู้พัฒนาสกุลดิจิตอลก็ต้องเตรียมแผนการรับมือกับโลกหลังควอนตัม ที่อาจจะเปลี่ยนโลกของ Cryptocurrency ไปตลอดกาล ท้ายที่สุดนั้นเรายังไม่สามารถสรุปอะไรได้ดีไปกว่าวันนั้นจะมาถึงเอง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีควอนตัมคอมพิวเตอร์จริง เป้าหมายที่น่าโจมตีกว่าคือระบบการเงินเก่าที่ใช้การเข้ารหัสเช่นเดียวกันดังนั้นก็ไม่ต้องกังวลมากไปหรอก
อ้างอิง
การเข้ารหัส AES-256 คืออะไรและทำงานอย่างไร
ทำไม Quantum Computing ถึงจะมาเปลี่ยนโฉมโลกการลงทุน?
การเข้ารหัสลับรหัสสาธารณะคืออะไร
การเข้ารหัสคีย์สาธารณะ – การป้องกันตัวเองจากการถูกสอดส่อง