Gas เป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Blockchain สำหรับทุกรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Smart contract ที่ผู้ใช้งานต้องการจะใช้บนเครือข่าย โดยจะทำการคำนวนเป็นรายบุคคล และและจ่ายแก๊สเพื่อตอบแทนนักขุดที่ช่วยในการตรวจสอบธุรกรรม ในขณะที่เราทำกำลังดำเนินการทำธุรกรรมบนบล็อคเชนอยู่นั้น ข้อมูลของเราที่ต้องการตรวจสอบจะถูกเอาไปต่อคิวเป็น Block การจัดลำดับการเข้าคิวนั้นจะขึ้นอยู่กับค่าแก๊สที่เราจ่ายไป หากเราจ่ายเยอะบล็อกข้อมูลของเราก็จะไปอยู่ในลำดับแรก ๆ ทำให้มีโอกาสที่จะได้ทำการตรวจสอบข้อมูลก่อน หากจ่ายน้อยก็จะได้คิวท้าย ๆ และการจ่ายน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้ธุรกรรมถูกยกเลิกไปเลย ซึ่งในขณะที่มีการทำธุรกรรมในระบบที่มากจะส่งผลให้ค่าแก๊สพุ่งสูงมากขึ้นกว่าปกติ เพราะผู้ใช้งานมีความต้องการให้ธุรกรรมของตนเองถูกตรวจสอบโดยเร็วที่สุดนั่นเอง
ทำไมค่า Gas ของแต่ละ chain ถึงแตกต่างกัน?
ราคาของแก๊สนั้นจะเกี่ยวเนื่องกับวิธีการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วในการตรวจสอบของข้อมูลในแต่ละบล็อก โดยแต่ละ chain ก็ใช้วิธีการตรวจสอบที่แตกต่างกันไป ตามระบบฉันทามติ (Consensus Algorithm) ซึ่งเจ้าระบบฉันทามตินี่เองที่ส่งผลต่อราคาของ Gas โดยจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
- Blockchain ที่ใช้ระบบฉันทามติแบบพิสูจน์การทำงาน (Proof of work, PoW) เช่น Bitcoin และ Ethereum ซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (การขุด) เพื่อตรวจสอบ และหากมีผู้เข้าร่วมตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นแรงขุดนั้นก็จะถูกแบ่งออกไป ทำให้ต้องมีการอัพเกรดอุปกรณ์เพิ่มเพื่อให้สามารถแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้เร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้มีต้นทุนที่สูงมากเพื่อตรวจสอบในแต่ละครั้งจึงส่งผลให้ค่าแก๊สมีราคาสูง
- Blockchain ที่ใช้ระบบฉันทามติแบบพิสูจน์การมีส่วนได้เสีย (Proof of stake, PoS) โดยผู้ตรวจสอบแต่ละคนก็คือคนที่เข้ามา stake ในระบบ และจะทำการสุ่มจากบุคคลที่ทำการ stake นั้นมาตรวจสอบระบบ โดย PoS ที่ไม่มีการขุดเหรียญเพิ่มเข้ามาในระบบนั้น จะได้ค่าแก๊สในการทำธุรกรรมครั้งนั้นๆเป็นผลตอบแทน ธุรกรรมใน PoS นั้นตรวจสอบเสร็จได้เร็วมาก เพราะว่าไม่ต้องรอการตรวจสอบที่นานหลายขั้นตอน จึงทำให้ค่าแก๊สถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง
- Blockchain ที่ใช้ระบบฉันทามติพิสูจน์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต (Proof of history, PoH) ที่เป็นระบบที่ค่อนข้างใหม่นั้น จะมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงโดยจะตรวจสอบประวัติของข้อมูลการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงในอดีต เพื่อทำมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างกับการทำธุรกรรมปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบนั้นมีความรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ถูกกว่าสองแบบแรกค่อนข้างมาก