ลอยกระทงทิพย์

ถ้าจะพูดถึงการลอยกระทงแล้ว ทุก ๆ คนคงคิดถึงการที่เราต้องนำกระทงไปลอยตามแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากทำจากวัสดุที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติพวก ต้นกล้วย ใบตอง แต่ก็จะมีวัสดุบางส่วนภายในกระทงที่ย่อยสลายได้ยาก

แม้แต่ตัวกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการย่อยสลายเหมือนกัน ถ้าเยอะเกินไปน้ำก็เน่าเสีย ทุกเช้าหลังเทศกาลจบก็จะเห็นรถบรรทุกกับรถแมคโครมาตักกระทงออกจากแม่น้ำ ลำบากไปอีก

ฉะนั้นแล้วแนวคิดของโลก Metaverse จะมาสอดรับกับจุดนี้ตรงที่ว่า หากทุกคนเปลี่ยนวิธีการในการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีต ที่ไม่ใช่แค่ประเพณีลอยกระทง

แต่รวมไปถึงประเพณีและขนบธรรมเนียมอื่นๆในหลากหลายวัฒนธรรม เปลี่ยนวิธีการมาทำสิ่งเหล่านั้นในดินแดนของโลก Metaverse แทน ก็จะเป็นการที่ช่วยลดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่มากก็น้อย

ตอนแรกแอดก็คิดว่าคงจะดีถ้าไปลอยกระทงแบบ Mint (สร้าง) กระทง NFT ละก็ลอยไปที่ Address 0x0000000000000000000000000000000000GANGA (คงคา)

แต่ใด ๆ ก็ตาม การทำธุรกรรม/กิจกรรม บน Blockchain นั้นก็สร้างมลพิษมหาศาลเหมือนกัน เผลอ ๆ เยอะกว่าการลอยกระทงปกติ อย่างการทำ 1 Transaction บน Etherium เนี่ยก็ใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 180 หน่วย หรือสำหรับบ้านหลังเล็ก ๆ 1 เดือน รอ ETH 2.0 ที่จะเปลี่ยนมาใช้ proof of stake คงจะประหยัดไฟขึ้นนะฮะ แต่ตอนนี้ก็คือ ไม่ลอยดีที่สุด แต่ติดดอยคือไม่ดีเลย

/สุขสันต์วันลอยกระทง/

เรียบเรียงโดย Deechan x พี่หมี